เมนู

ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงระบุพวกภูตด้วยพระดำรัสที่ไม่
แน่นอนว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ แล้วจึงทรงกำหนดเป็นสองส่วนอีก
ว่า ภุมมานิ วา ยาน ว อนฺตลิกฺเข ต่อจากนั้น ก็ตรัสรวมอีกว่า
สพฺเพว ภูตา ทรงประกอบสัตว์ไว้ในอาสยสมบัติ ด้วยพระดำรัสนี้ว่า
สุมนา ภวนฺตุ ทรงประกอบสัตว์ในประโยคสมบัติด้วยพระดำรัสว่า สกฺกจฺจํ
สุณนฺตุ ภาสิตํ
ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติคือโยนิโสมนสิการ และใน
สมบัติ คือการโฆษณาจากผู้อื่น ก็เหมือนกัน ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติ
คือการตั้งตนไว้ชอบและการเข้าหาสัตบุรุษ และในสมบัติ คือเหตุแห่งสมาธิ
และปัญญา ก็เหมือนกัน จึงทรงจบพระคาถา.

พรรณนาคาถาว่า ตสฺมา หิ


จะกล่าวคาถาที่ 2 ว่า ตสฺมา หิ เป็นต้น . ในคาถานั้น บทว่า
ตสฺมา เป็นคำกล่าวเหตุ. บทว่า ภูตา เป็นคำเรียกเชิญ. บทว่า นิสาเมถ
ได้แก่ จงฟัง. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร.
ท่านอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ละทิพยสถานและความพรั่งพร้อม
แห่งเครื่องอุปโภคบริโภคในทิพยสถานนั้น มาประชุมในที่นี้ ก็เพื่อฟังธรรม
ไม่ใช่เพื่อดูการรำการฟ้อนเป็นต้น ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายที่เป็นภูตทั้งหมด
โปรดตั้งใจฟัง.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า สุมนา ภวนฺตุ สกฺกจฺจํ สุณน-
ตุ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ภูตเหล่านั้นมีใจดี และอยากฟัง โดย
เคารพจึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ประกอบด้วยความเป็นผู้มีใจดี
ด้วยอัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ ด้วยความเป็นผู้อยาก
ฟังโดยเคารพ และด้วยปโยคสุทธิ โดยเป็นปทัฏฐานแห่งการเข้าหาสัตบุรุษ
และการโฆษณาจากผู้อื่น ฉะนั้นแล ขอภูตทั้งหลายทั้งหมดโปรดตั้งใจฟังเถิด.